ต้นการบูร
ต้นการบูรเติบโตและแพร่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก มีเรื่องราวที่แตกต่างกันเกิดขึ้น ณ ที่นั่น...
camphor tree story
หยุดก่อน ผู้มาจากต่างถิ่น
รัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ที่นี่ไม่อนุญาตให้มีการซื้อขายต้นการบูร และถูกควบคุมไม่ให้มีการปลูกในบางพื้นที่เช่นในเขตอุทยาน ที่มีข้อกำหนดแบบนี้ไม่ใช่เพราะผงการบูรเป็นของผิดกฎหมายหรอก จริงๆแล้วเพราะความสามารถในการเจริญเติบโตและการแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วของต้นการบูรต่างหาก เพราะสำหรับที่นี่การบูรเป็นพืชที่นำมาปลูกจากต่างถิ่นและมีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิตท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่นส่งผลให้อัตราการแพร่ขยายพันธุ์ของพืชท้องถิ่นลดลง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือต้นยูคาลิปตัส อาหารหลักของโคอาลานั่นเอง
camphor tree story camphor tree story
ปาฏิหาริย์แห่งชีวิต
เมืองนางาซากิ ประเทศญี่ปุ่น ในวันที่ 9 สิงหาคม 2488 ถูกถล่มเป็นเถ้าถ่านจากผลของระเบิดนิวเคลียร์ ภายในรัศมี 1 กิโลเมตร จากตำแหน่งที่โดนระเบิด สิ่งมีชีวิตและสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดถูกทำลายด้วยแรงอัดและความร้อนอันมหาศาล ถึงกับมีคนกล่าวไว้ว่า ณ บริเวณนั้นอาจจะไม่เหลือแม้ต้นไม้หรือหญ้าสักต้นไปอีกหลายสิบปี แต่ไม่น่าเชื่อว่าห่างออกไป 800 เมตร ต้นการบูรใหญ่ที่มีความยาวรอบลำต้นขนาด 8 เมตร ซึ่งลำต้นส่วนบนได้หักลง และไม่เหลือใบแม้แต่ใบเดียว กลับแตกยอดใหม่ในอีก 2 ปีต่อมา และแม้ผลของเหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้ในปัจจุบันมีความสูงเหลือเพียง 10 เมตร แต่การบูรต้นนี้ก็แสดงให้เห็นถึงการฟื้นคืนชีวิตอย่างรวดเร็ว และเป็นแรงบันดาลใจให้ชาวญี่ปุ่นพยายามสร้างชีวิตขึ้นใหม่อีกครั้ง
แด่เธอ
เมืองไซกุง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มีหมู่บ้านบนเกาะเล็กๆแห่งหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงราวปีพ.ศ. 2480 ซึ่งเคยมีชาวฮากกาอาศัยอยู่ ในอดีตชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ที่นี่ ได้ใช้ไม้การบูรสำหรับเป็นวัสดุก่อสร้างบ้านเรือนและทำเป็นข้าวของเครื่องใช้ นอกจากนั้นยังได้มีธรรมเนียมที่พิเศษอย่างหนึ่งคือเมื่อครอบครัวใดให้กำเนิดลูกผู้หญิง จะมีการปลูกต้นการบูรให้กับเธอหนึ่งต้น เมื่อเด็กหญิงเติบโตขึ้น ต้นการบูรก็สูงขึ้นและบ่งบอกว่าถึงเวลาที่เธอสมควรจะมีครอบครัวแล้ว เมื่อถึงเวลานั้น ต้นการบูรก็จะถูกตัดเพื่อนำมาทำเป็นอุปกรณ์ของใช้สำหรับหญิงสาวในวันแต่งงานของเธอ camphor tree story
บริษัท ที.ซี.กรีนไพน์ จำกัด

สำนักงาน: 76/47 ถนนรัชดาภิเษก แขวงวัดท่าพระ
เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์: (02) 868-1643, (02) 868-1415
Fax: (02) 868-1415
©Copyright 2010 by TraPat.com. All Rights Reserved.